วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ความสัมพันธ์ของไทย – สเปน ในอดีต



ราชอาณาจักรสเปน
Kingdom of Spain





ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรปบนคาบสมุทรไอบีเรีย ทิศเหนือ จรดทะเลกันตาบริโก ราชรัฐอันดอร์รา และประเทศฝรั่งเศส ทิศตะวันออก จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศใต้ จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบยิบรอลต้า และมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตก จรดประเทศโปรตุเกส และมหาสมุทรแอตแลนติก

เนื้อที่ 504,880 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับสามในยุโรป รองจากรัสเซียและฝรั่งเศส เนื้อที่ของประเทศสเปนแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่
ส่วนที่เป็นคาบสมุทร คือ 
- คาบสมุทรไอบีเรีย และ
- ดินแดนทางเหนือของโมร็อกโก ได้แก่ เซวตา (Ceuta) และเมลิยา (Melilla)
ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ คือ 
- หมู่เกาะบาเลอาริค (Balearic Islands)
- หมู่เกาะคะเนรี (Canary Islands)
นอกจากนี้ ยังมีดินแดนอื่นที่อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของรัฐบาลสเปน ได้แก่
- Islas Chafarinas
- Penon de Alhucemas
- Penon de Velez de la Gomera
ภูมิอากาศ ตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น แต่เนื่องจากลักษณะของภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงๆ ต่ำๆ อากาศของภูมิภาคต่างๆ จึงมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศ เช่น ภาคเหนือ มีสภาพอากาศของริมฝั่งทะเล ซึ่งโดยปกติในฤดูหนาวไม่หนาวจัด และเย็นสบายในฤดูร้อน แต่เป็นภาคที่ฝนตกฉุกและมีความชื้นสูง ส่วนภาคกลาง และภาคใต้ สภาพอากาศแห้ง ฝนตกน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด แต่ในฤดูหนาวไม่หนาวจัด

เมืองหลวง กรุงมาดริด
เมืองสำคัญ
* บาร์เซโลนา (Barcelona)
* บาเลนเซีย (Valencia)
* เซวิญ่า (Sevilla)
* ซาราโกซา (Zaragoza)
* มาลากา (Malaga)
* บิลเบา (Bilbao)

ประชากร 45.2 ล้านคน (ปี 2555)
ประกอบด้วยเชื้อชาติต่างๆ ได้แก่
* Spanish (ร้อยละ 74)
* Catalan (ร้อยละ 15.9)
* Galician (ร้อยละ 6.3)
* Basque (ร้อยละ 4.8)

ศาสนา ชาวสเปนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิก (ร้อยละ 94)

ภาษา
* ภาษาราชการ คือ ภาษาสเปน (Castellano)
* ภาษาท้องถิ่น ได้แก่ ภาษากาตาลัน (Catal?n) พูดในแค้วนกาตาลุนยา ภาษากาเยโก (Gallego) พูดในแค้วนกาลิเซีย ภาษาบาเลนเซียโน (Valenciano) พูดในแคว้นบาเลนเซีย และภาษาบาสโก (Vasco) พูดในแคว้นบาสก์

วันชาติ 12 ตุลาคม

สกุลเงิน ยูโร (EURO)





ความสัมพันธ์ของไทย – สเปน ในอดีต


กุลกุมุท สิงหรา ณ อยุธยา อธิบดีกรมยุโรป

           มีหลักฐานจากการค้นคว้าของฝ่ายสเปนว่าเมื่อปี ค.ศ. 1540 ( พ.ศ. 2083 ) นาย Pero Diaz เป็นชาวสเปนคนแรกที่เดินทางมาไทย โดยขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานี เมืองขึ้นของอยุธยา ในสมัยพระไชยราชาธิราช นับเป็นชาวยุโรปชาติที่ 2 ที่เดินทางมาไทยในสมัยนั้น ต่อจากชาวโปรตุเกสซึ่งเดินทางมาไทยในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อราวปี พ.ศ. 2061 ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2129 นาย Santiago de Vera ข้าหลวงสเปนที่ปกครองฟิลิปปินส์ได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางมาเปิดความสัมพันธ์ กับอยุธยา ซึ่งกษัตริย์ไทยให้ความสนใจ แต่ก็มิได้ดำเนินการอย่างไรต่อไป

            ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ไทยกับสเปน ได้ติดต่อค้าขายกันโดยผ่านทางฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปน โดยไทยส่งออกไม้และตะกั่ว ที่จำเป็นสำหรับการต่อเรือให้สเปนและซื้อสินค้าประเภทอาวุธจากสเปนแต่ความ สัมพันธ์ทางการค้าและอื่นๆไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไรนัก เนื่องจากสเปนมีคู่แข่งคือโปรตุเกส ซึ่งวางรากฐานทางการค้าไว้อย่างมั่นคงแล้ว ในขณะที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสเปนก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกษัตริย์ไทยและชาวไทยไม่ได้ให้ความสนใจแต่อย่างใด

            หลังจากรัชสมัยพระนารายณ์ ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ไทยรัชกาลต่อๆมา ไม่โปรดปรานชาวตะวันตก เพราะเกรงว่าจะเข้ามายึดครองไทยและครอบงำทางศาสนา จึงขับไล่ทั้งฝรั่งเศส โปรตุเกส ฮอลันดา และสเปนออกไปจากประเทศเป็นจำนวนมาก

            ชาวยุโรปเริ่มเข้ามาเมืองไทยอีกครั้งตั้งแต่รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรัชกาลที่ 4 ถือเป็นยุคสำคัญของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างระหว่างไทยกับประเทศตะวันตกซึ่ง กำลังล่าเมืองขึ้นในเอเชียอย่างขะมักเขม้น

            สเปนและไทยได้ทำสนธิสัญญาทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ ( Treaty of Friendship, Commerce and Navigation ) ซึ่งถือเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2413 ( ค.ศ. 1870 ) ในรัชกาลที่ 5 ช้ากว่าที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกอื่นๆกว่า 10 ปี

            ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 ไทยได้ตั้งอัครราชทูตประจำยุโรปให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริด ด้วย และในปี พ.ศ. 2504 ได้ยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูตโดยได้ตั้งเอกอัครราชทูตไทยคนแรกไปประจำ กรุงมาดริดเมื่อ พ.ศ. 2506

            นอกจากสถานเอกอัครราชทูตแล้ว ที่กรุงมาดริด ไทยยังมีสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและทหารเรือ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานการบินไทย นอกจากนี้ มีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยอีก 2 แห่ง ที่นครบาร์เซโลน่า และที่หมู่เกาะคานารี



1 ความคิดเห็น:

ads