วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หญิงไทยในยุคปัจจุบัน



เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" ณ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 12.30-16.30 พิพิธภัณฑ์ฯได้จัดงานเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" โดยวิทยากรคือ   คุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์    หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล และ คุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่า

ด้วยในเดือนสิงหาคมนี้เป็นวาระครบ 95 ปีแห่งวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี อีกทั้งในเดือนสิงหาคมยังจัดเป็นเดือนวัน สตรีไทยและแม่แห่งชาติอีกด้วย พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นควรจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “หญิงไทยยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน”

   เพศแม่เป็นสัญลักษณ์แห่งการให้กำเนิดและความอุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคคลาสสิกได้รับการยกย่องเป็นเทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งการเยียวยา เทพีแห่งการล่าสัตว์แม้แต่ในสังคมอินเดีย เทพีหลายองค์ทรงเป็นศักติหรือ พลังของเทพเจ้าสำคัญ จำนวนไม่น้อยตามความเชื่อหลายลัทธิ     ผู้หญิงได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ตามความเชื่อทางศาสนาและค่านิยมในสังคม แต่หลังจากผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถึงวัยอาวุโสสูงสุด สตรีเพศทั้งในสังคมจีนและอินเดีย อาจมีสถานภาพเป็นผู้ชี้ทางอนาคตของครอบครัวบนสถานภาพของการเป็น “ผู้รู้และผู้สืบทอดภูมิปัญญา” ทั้งในเรื่องความเป็นอยู่และพิธีกรรมของครอบครัวโดยมีศาสนาและความเชื่อเป็นสายธารเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม
ในสังคมไทย เมื่อประมาณ 200 ปีเศษที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้หญิงตัวเล็กๆ หลายคน อาจส่งผลกระทบไปถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของกระบวนการยุติธรรมโดยรวมอย่างคาดไม่ถึงอาทิ ในกรณีของอาแดงป้อมผู้เป็นสาเหตุให้ร้อนถึงพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงกับต้องชำระพระราชบัญญัติอันเป็นต้นเค้าของกฎหมายตราสามดวงในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

      
ฎีกาที่ “ขัดฝืน” ผู้หญิงที่น่าสงสารอย่าง “อาแดงเหมือน” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงกับส่งผลให้ประเพณีการคลุมถุงชนในสังคมไทยเสื่อมคลายภายใต้พระราชวินิจฉัยที่ว่า “การแต่งงานของชายหญิงต้องเกิดจากความสมัครใจ” อีกทั้งยังส่งผลให้มีการประกาศพระราชบัญญัติลักพาพ.ศ.2408 และพระราชบัญญัติผัวขายเมียพ.ศ. 2410 อันเป็นการปูพื้นฐานของเรื่องสิทธิมนุษยชนและการเลิกทาสในรัชสมมัยต่อมา ทำให้คำกล่าวที่ว่า “ผู้หญิงเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน” ในอดีตเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนในสังคม
   
ในยุคปลายสังคมจารีตสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นแบบอย่างของการยกย่องสถานภาพของสตรี ตามค่านิยมของ“สังคมผัวเดียวเมียเดียว” แบบตะวันตกโดยทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินีแต่เพียงพระองค์เดียว พระราชจริยาวัตรนี้ส่งผลระดับหนึ่งต่อสถาบันครอบครัวในเวลาต่อมาแต่เป็นน่าแปลกใจที่สังคมไทยแม้จะให้ความสำคัญ ต่อคำสาบาน ดังพันธะที่มีต่อพระราชพิธีศรีสัจปานกาลมาแต่ครั้งอดีต กลับไม่เคยแยแสต่อการสาบานว่า จะซื่อสัตย์ต่อคู่สมรสจนกว่าจะตายจากกันร่องรอยการให้ “เครดิต” แก่ผู้หญิงครั้งสำคัญ ที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่าน สู่สังคมประชาธิปไตย
     
เมื่อพ.ศ.2475 ปรากฏในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฉบับแรก กำหนดให้ผู้หญิงไทยได้รับสิทธิทางการเมืองเท่าเทียมกับผู้ชาย ขณะที่สตรีหลายชาติทั้งในโลกตะวันตกที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้วกลับยังไม่ได้สิทธิดังกล่าวในขณะที่สังคมโลกตระหนักถึงสิทธิสตรี ทั้งรัฐไทยและสังคมไทยโดยรวม ทัศนะที่มีต่อผู้หญิงมีพัฒนาการอย่างไรบ้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมการเมือง นิติบัญญัติและวัฒนธรรมส่งผลกระทบต่อบทบาทของผู้หญิงอย่างไร ปัจจัยเกื้อหนุนและบั่นทอนย้อนกลับต่อบทบาทของผู้หญิงอัน เนื่องมาจากกฎหมายบางอย่างมีอะไรบ้างขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงเกิดจากตัวแปรอะไรบ้าง ล้วนเป็นคา ถามที่สังคมต้องร่วมกันแสวงหาคา ตอบหรือร่วมกันแก้ไข้อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้การอ้างความรักความหึงหวงแล้วแปรเปลี่ยนมาเป็นการทา ร้ายคนเพศแม่อย่างโหดร้าย การลดความสำคัญ ของสตรีหลังการแต่งงาน ทำให้ผู้หญิงขาดโอกาสทางเศรษฐกิจ ถึงกระนั้นก็ตามสิทธิทางการเมืองและการศึกษาก็ทา ให้สตรีจำนวนไม่น้อยประสบความสำเร็จในวิชาชีพของตน
โครงการสัมมนาวิชาการนี้ยังเชื่อมโยงกับเนื้อหานิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพัฒนาการทางการเมืองการปกครองไทย




นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศีกษา คณะศึกษาศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

เข้าร่วมฟังอบรมเสวนาโครงการ"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ads